วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  กฟภ.
วิชาที่ใช้สอบมีอะไรบ้าง
1. วิชาเฉพาะตำแหน่ง
2. วิชาความรู้ทั่วไป
-ภาษาอังกฤษ
-วัดความถนัดทางเชาวน์ปัญญา (Aptitude Test)
-วัดคุณลักษณะนิสัย (Personality Test)

คำแนะนำในการสอบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  กฟภ.
ข้อสอบชุดแรก วัดความถนัด (Aptitude Test) มี  40  ข้อ  ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่จะทำไม่ทัน เนื่องจากเป็นข้อสอบแบบวัดความเข้าใจ วิเคราะห์  อุปมาอุปไมย  ตีโจทย์ได้ยาก  ต้องหัดทำข้อสอบบ่อยๆ จึงจะทำได้ทันเวลา
ข้อสอบชุดสอง  วัดลักษณะนิสัย  (Personality Test) อันนี้ไม่ยาก  มี  60  ข้อ
ข้อสอบชุดสาม  วิชาภาษาอังกฤษ  เป็นภาษาอังกฤษที่แบบกำลังพอดี ไม่ยาก ไม่ง่ายเกินไป

สัมภาษณ์งานการไฟฟ้านครหลวงต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง
คำถามที่ต้องเจอแน่ๆ คือให้แนะนำตัวเองคร่าวๆ เกี่ยวกับประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประวัติส่วนตัว ส่วนใหญ่กรรมการจะใช้คำถามต่อจากคำแนะนำตัวของเรา และอาจจะมีคำถามเฉพาะทางเกี่ยวกับสาขาที่เราสมัคร อาจเข้าไปหาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ กฟน. ในเว็ป www.mea.or.th เอาไว้อุ่นใจ  ที่สำคัญอย่าลืมแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยนะคะ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

สรุปข้อแนะนำการสอบสัมภาษณ์ได้ดังนี้คือ
1. แต่งกายสุภาพ (ตำแหน่งสายวิชาการอย่างน้อยควรผูกไทด์)
2. ระหว่างนั่งรอหน้าห้องสัมภาษณ์ ให้นั่งทำสมาธิ อย่ามัวแต่เล่นมือถือ มันเสียบุคลิก
3. ฝึกแนะนำตัวเองหน้ากระจก เขียนบทพูดมาบ้างก็ได้ แต่ควรพูดให้เป็นธรรมชาติ
4. ตั้งสติให้ดี เพราะกรรมการมีจำนวนเยอะมาก อย่าตกใจ
5. ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการสัมภาษณ์งานบ้าง วางตัวอย่างไร กระเป๋าหรือข้าวของจะวางตรงไหน (จุดเล็กๆ น้อยๆ บางทีกรรมการบางคนอาจจะมอง)
6. อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานและตำแหน่งที่สมัครไว้บ้าง ถึงจะตอบคร่าวๆ ในข้อเขียนไปแล้ว แต่ถ้าเวลาสัมภาษณ์เราสามารถโยงคำตอบให้ดูมีความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานน่าจะดูสวยกว่า

รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ. 2503 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4 แนวข้อสอบความถนัดทางเชาว์ปัญญา ( Aptitude Test )
5 แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ( English Test )
6 แนวข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 การเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์เข้าทำงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ตำแหน่งที่สอบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)
เจ้าพนักงานธุรการ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
นักการเงิน
นักตรวจสอบภายใน
นักทรัพยากรบุคคล
นักบริหารงานทั่วไป
นักบัญชี  กฟภ
นักปฏิบัติการเทคนิค (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย)
นักปฏิบัติงานเทคนิค
นักประชาสัมพันธ์
นักระบบงานคอมพิวเตอร์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
นักวิทยาศาสตร์
นักโสตทัศนศึกษา
นิติกร
โปรแกรมเมอร์
พนักงานคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
พนักงานช่างเครื่องกล
พนักงานช่างโทรคมนาคม-อิเล็กทรทนิกส์
พนักงานช่างไฟฟ้า
พนักงานช่างโยธา
พนักงานบัญชี
พนักงานบันทึกข้อมูล
พนักงานพัสดุ
วิทยากร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น